นาฬิกา อุปกรณ์ที่อยู่คู่กับโลกเรามายาวนาน

นาฬิกา ภาษาอังกฤษคือ Clock เป็นอุปกรณ์ที่อยู่คู่กับโลกเรามาเป็นระยะเวลายาวนานมาก ครั้งแรกที่โลกใบนี้รู้จักนาฬิกาที่ทำจากมนุษย์ประดิษฐ์ เกิดจากความต้องการที่จะวัดความแตกต่างกันระหว่างเวลากลางวันและเวลากลางคืน ดังนั้น จึงทำให้ชาวอียิปต์ กรีก และ โรมันโบราณ สร้างนาฬิกาเรือนแรกของโลก ซึ่งเรียกว่า นาฬิกาแดด นาฬิกาน้ำขึ้น ต่อมานาฬิกาก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆจนกระทั่วถึงศตวรรษที่ 13 ช่างฝีมือในยุคกลาง ได้คิดค้นนาฬิกา ซึ่งมีกลไกที่ซับซ้อนขึ้นแต่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเช่นกัน ต่อมา ได้มีการใช้ลูกตุ้ม เพื่อควบคุมการทำงานของกลไกในนาฬิกา ซึ่งมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกทั้งในเวลาต่อมา ได้รับการพัฒนาในการประยุกต์ใช้กับการค้นหาตำแหน่งของเรือในทะเล และมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติอุตสาหกรรมและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอารยธรรมตะวันตก

นาฬิกา

ในยุคปัจจุบัน จะพบว่า นาฬิกา ได้ถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น คอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องจะมีนาฬิกาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมการทำงาน หรืออุปกรณ์นำทางต่าง ๆ ก็จะใช้นาฬิกาในการส่งสัญญาณเวลามาจากระบบดาวเทียมในอวกาศเพื่อกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก อีกทั้งยังใช้กับโทรศัพท์มือถือ ระบบการซื้อขายหุ้น การศึกษาด้านดาราศาสตร์ เป็นต้น

ประเภทของนาฬิกา

  • นาฬิกาอะนาล็อก ทำงานด้วยการใช้เข็มเป็นตัวบอกเวลา โดยทั่วไป จะมีเข็มชั่วโมง และเข็มนาที แต่หากละเอียดขึ้น ก็จะมีเข็มวินาทีให้ด้วย เป็นนาฬิกาที่เรียกได้ว่าเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับนาฬิกาที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
  • นาฬิกาดิจิตอล เป็นนาฬิกาที่ทำงานด้วยตัวเลข จะมีการแสดงตัวเลขของชั่วโมงและนาที และอาจบอกถึงวินาทีเลยก็มี เหมาะกับคนที่ต้องการรู้เวลาอย่างชัดเจนว่าขณะนี้เวลากี่นาที กี่วินาทีแล้ว
  • นาฬิกาควอตซ์ เป็นนาฬิกาที่นิยมมาก เพราะความแม่นยำ และเที่ยงตรง โดยอาศัยการเคลื่อนไหวตามจังหวะอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมโดยผลึกควอตซ์เพื่อวัดเวลา คริสตัลออสซิลเลเตอร์นี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของนาฬิกาซึ่งทำให้มีความแม่นยำมากกว่านาฬิกาอื่น
  • นาฬิกาคำพูดที่เป็นแบบ อิเล็คทรอนิค (Electronic word) เป็นนาฬิกาที่บอกเวลาเป็นประโยค โดยการคีย์เวลาเข้าไปในซอฟแวร์ของเครื่อง 
  • นาฬิกาที่ใช้เสียงเป็นตัวบอกเวลา (Auditory clock) เป็นนาฬิกาที่ใช้การบันทึกเสียงจากมนุษย์ หรือจากคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น เพื่อบอกเวลา มักช้สำหรับการประกาศเวลาในเขตพื้นที่ใหญ่ ๆ หรือสำหรับคนตาบอด 
  • นาฬิกาสัมผัส (Tactile clock) เป็นนาฬิกาที่จะแสดงตัวเลขบนพื้นผิวของหน้าปัด เหมาะกับคนตาบอดที่สามารถใช้ เพื่อบอกเวลาโดยการใช้มือสัมผัสได้ โดยตัวเลขอาจเป็นแบบมาตรฐานหรือเป็นอักษรเบรลล์ที่สามารถเข้าใจได้ 
  • นาฬิกาแสดงผลหลายจอ (Multi Display Clock) นาฬิกาประเภทนี้สามารถเป็นได้ทั้งแบบอนาล็อกหรือดิจิตอลและคุณสมบัติหลักของนาฬิกาคือความสามารถในการแสดงเขตเวลาหลายโซนมีหลายหน้าปัดหรือใช้เวลาหลายมาตรฐานได้
  • นาฬิกาสำหรับเดินเรือและตรวจสภาพอากาศ (Maritime and Weather Clock) เป็นนาฬิกาที่สามารถ บอกถึงสภาพอากาศในขณะนั้น รวมถึงสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงามได้อีกด้วย
นาฬิกาสำหรับเดินเรือและตรวจสภาพอากาศ
  • นาฬิกาปลุก (Alarm clock) เป็นนาฬิกาที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่จะเป็นระบบดิจิตอล ที่สามารถตั้งเวลาปลุกได้อย่างแม่นยำ ราคาไม่แพง
  • นาฬิกาคุณปู่ (Grandfather clock) เป็นนาฬิกาตั้งพื้นยุคโบราณที่นิยมใช้ตามบ้าน ลักษณะเป็นทรงสูง มีตุ้มในการถ่วงเพื่อบอกเวลา มักเป็นนาฬิกาที่มีไว้ประดับบ้านและตกทอดเป็นมรดกให้แก่ลูกหลาน
นาฬิกาคุณปู่
  • นาฬิกากุ๊กกู เป็นนาฬิกาติดผนังโบราณที่เป็นที่นิยมมากในสมัยก่อน เมื่อครบเวลาเช่น ครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง จะมีนกกาเหว่าตัวเล็ก ๆ โผล่ออกมาจากตัวเรือนนาฬิกาเพื่อร้องบอกเวลา อีกทั้งอาจมีเสียงระฆังตีเพื่อบอกว่าขณะนั้นเวลากี่โมงแล้วอีกด้วย
นาฬิกากุ๊กกู
  • นาฬิกาแขวนภายนอก (Outdoor clock) เป็นนาฬิกาที่สำหรับใช้ภายนอก สามารถทนแดด ทนฝน หิมะและความชื้นต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 
  • นาฬิกาลูกตุ้ม (Pendulum) เป็นนวัตกรรมโบราณที่มีตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โดยใช้ลูกตุ้ม เป็นกลไกในการเดินของลานเวลา ในปัจจุบันก็ยังสามารถพบเห็นอยู่ได้ และเป็นที่นิยมของนักสะสมของโบราณ เนื่องจากถือว่าเป็นนวัตกรรมรุ่นเก่าที่หาได้ยากขึ้น
  • นาฬิกาเสียงดนตรี (Musical clock) เป็นนาฬิกาที่สร้างความบันเทิงให้แก่ครอบครัวได้ เพราะมีการผสมเอาเสียงดนตรี เข้าไปโดยเสียงดนตรีจะดังเมื่อครบรอบของเวลา เช่น ทุกครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง
  • นาฬิกาตรวจจับแสง (Light sensor) นาฬิกาชนิดนี้เหมาะที่จะวางไว้ในห้องนอน เพราะเมื่อเราปิดไฟ ห้องมืด นาฬิกาจะไม่ส่งเสียงร้องดัง ตราบจนกระทั่งรุ่งเช้าที่มีแสงอาทิตย์สาดส่องเข้ามา นาฬิกาจึงจะเริ่มร้องอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม นาฬิกาก็ยังคงเดินบอกเวลาตามปกติต่อไปภายใต้ความมืดนั้น
นาฬิกาตรวจจับแสง
  • นาฬิกาเรืองแสง (Luminous clock) เป็นนาฬิกาที่จะสะสมพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ในเวลากลางวัน และจะส่องสว่างโดยการเรืองแสงที่ตัวเลขเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาในเวลากลางคืน จึงเหมาะกับผู้ที่ชอบตื่นกลางคืนและมองนาฬิกาว่ากี่โมง สามารถเห็นเวลาโดยไม่จำเป็นต้องเปิดไฟ 
  • นาฬิกาอะตอม (Atomic clock) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความถี่ในอิเล็กตรอนไมโครเวฟและการเปลี่ยนแปลงทางแม่เหล็กไฟฟ้าของอะตอม นาฬิกาเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อวัดความยาวที่แน่นอนของวินาทีโดยการรวมจังหวะการเคลื่อนไหวของผลึกควอตซ์ โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการศึกษาที่ซับซ้อน เช่น  NASA ที่ใช้สำหรับกำหนดพิกัดดาวเทียม GPS บนเครื่องบินที่โคจรรอบโลก เป็นต้น.

ที่มา

http://pirun.ku.ac.th

https://www.9naliga.com